วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการเรียนรู้แบบร่วมกัน


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning
ทฤษฏีพื้นฐานของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Murray, 1997  อ้างถึงใน อุดม, 2551) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือของผู้เรียนมาจากฐานทางทฤษฎี 4 ทฤษฎีดังนี้


1.       ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม  (Social Learning Theory : Team work) วัฒนธรรมการเรียนรู้ทาง

สังคมได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางในโรงเรียน   ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่นักเรียน จะทำงานหนักเพื่อรางวัล หรืออาจไม่ผ่านในการปฏิบัติงานนั้นบางทีอาจถูกลงโทษ  การทำงานเป็นกลุ่ม ความสมามารถที่แท้จริง และการศึกษาพฤติกรรมผู้อื่น   เป็นเครื่องมือของครูในการเรียนรู้แบบร่วมมือในวัฒนธรรมการเรียนรู้ทางสังคม

2.   ทฤษฎีของ Piaget (Piagetian Theory : Conflict Resolution)

3.   ทฤษฎีของ Vygotsk (Vygotskian Theory : Community Collaboration)

4.   ทฤษฎีวิทยาการปัญญา (Cognitive Science Theories : Tutoring)

ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

ราชบัณฑิตสถาน (2551) ได้ให้ความหมาย ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกัน

เรียนรู้โดยพึ่งพากัน  มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดใช้ทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกัน มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานกลุ่มและมีการตรวจสอบผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล

วิกิพีเดีย ได้ให้ความหมายของ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน    โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน   มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งตรงข้ามกับการเรียนที่เน้นการแข่งขันและการเรียนตามลำพัง

Blackcom (1992)  กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จโดยผู้เรียนกลุ่ม

เล็ก ๆ ที่มีความสามารถต่างกัน  ใช้กิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย  ในการปรับปรุงความเข้าใจในเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมจะไม่เพียงจะต้องมีความรับผิดชอบแต่ต้องช่วยเหลือกันในกลุ่ม ซึ่งสร้างบรรยากาศของสัมฤทธิ์ผลในการเรียนอีกด้วย

ไพฑูรย์ และคณะ (2550) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจาก

การร่วมมือร่วมใจในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงาน  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกลุ่ม เน้นการทำงาน คละความสามารถของสมาชิก ดังนั้นการกระทำใด ๆ ของสมาชิกย่อมมีผล กระทบต่อกลุ่มและสมาชิกคนอื่น ๆ

ทิศนา (2552)  กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือคือ การเรียนที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุด โดยอาศัยการร่วมมือกันช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษา เนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัลเป็นประการสำคัญ

***สรุป การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย  โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียก Cooperative Learning ว่า การเรียนแบบร่วมมือ

รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

            Johnson,  Johnson and Stann (2000)  กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งหมด 8 รูปแบบ ได้แก่

1.  รูปแบบแอลที (LT) หรือ Learning Together

2.  รูปแบบเอ.ซี. (AC) หรือ Academic Controversy

3.  รูปแบบเอส.ที.เอ.ดี (STAD) หรือ Student-Team-Achievement- Divisions

4.  รูปแบบที.จี.ที (TGT) หรือ Team-Games-Tournaments

5.  รูปแบบจี.ไอ (GI) หรือ Group Investigation

6.  รูปแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)

7.  รูปแบบที.เอ.ไอ (TAI) หรือ Teams-Assisted-Individualization

8.  รูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี (CIRC) หรือ Cooperative Intergrated Reading and Composition

ทั้ง 8  รูปแบบ ให้ผลกระทบในด้านบวกต่อสัมฤทธ์ผลทางการเรียน  ซึ่งสอดคล้องกับ  ทิศนา

(2548)  กล่าวว่าทุกรูปแบบของการเรียนแบบร่วมมือต่างมีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด  สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน    รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน      ในส่วนที่ต่างกันนั้นมักจะเป็นความแตกต่างในเรื่องของวิธีการจัดกลุ่ม  วิธีการในการพึ่งพากัน  วิธีการทดสอบ    กระบวนการในการวิเคราะห์กลุ่ม บรรยากาศของกลุ่ม โครงสร้างของกลุ่ม บทบาทของผู้เรียน ผู้นำกลุ่มและครู


อ้างอิง


https://sites.google.com/site/muttanatumoon/kar-cadkar-reiyn-kar-sxn-baeb-tgt