นางสาววิภาดา ทรัพย์พร้อม 5320601743
http://vipada1743.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601743
นายศักดิ์ณรงค์ พุ่มเพิ่ม 5320600461
http://saknarong461.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600461
นายสุรเชษฐ์ พลฉวี 5320601778
http://surachet1778.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601778/index.html
นายอรรถชัย จันทร์บางยาง 5320601794
http://atthachai1794.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601794
นางสาววนิดา ทิพย์กมลธนกุล 5320602171
http://wanida171.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602171
นางสาวสุธิดา ทะสา 5320602189
http://sutida189.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602189
นางสาวนุชจิรา ปิ่นแก้ว 5320600429
http://nootjira429.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600429
นางสาวมุทิตา ชมชื่น 5320600445
http://mutita0445.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600445
นางสาวสายสุนีย์ สืบสุข 5320601751
http://saysunee1751.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601751
นายธนะ จิตต์กระจ่าง 5320600780
http://thana0780.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600780
นางสาวปรวีร์ธิดา อัครวิวัฒกุล 5320600801
http://paulravetida0801.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320600801
นางสาวพชรพร ทิมอินทร์ 5320601719
http://phacharaphorn719.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601719
นางสาวนิสารัตน์ กลีบบัวทอง 5320601697
http://nisarat1697.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320601697
นายอนุชิต หอมทอง 5320602197
http://anuchit197.blogspot.com
http://www.pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602197
นางสาววนานุรัตน์ ดวงจินดา 5320602472
http://wananurat02472.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602472
นายรณกร ไข่นาค 5320602685
http://ronnakorn2685.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602685
นางสาวภัสรา เพ็งใย 5320602707
http://pussara707.blogspot.com
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5320602707
คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนรู้(Computer for Learning Managerment)
วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการเรียนรู้แบบร่วมกัน
ทฤษฏีพื้นฐานของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Murray, 1997 อ้างถึงใน อุดม, 2551) กล่าวถึงการเรียนรู้แบบร่วมมือของผู้เรียนมาจากฐานทางทฤษฎี 4
ทฤษฎีดังนี้
1.
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory : Team work) วัฒนธรรมการเรียนรู้ทาง
สังคมได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางในโรงเรียน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่นักเรียน
จะทำงานหนักเพื่อรางวัล หรืออาจไม่ผ่านในการปฏิบัติงานนั้นบางทีอาจถูกลงโทษ
การทำงานเป็นกลุ่ม ความสมามารถที่แท้จริง และการศึกษาพฤติกรรมผู้อื่น
เป็นเครื่องมือของครูในการเรียนรู้แบบร่วมมือในวัฒนธรรมการเรียนรู้ทางสังคม
2. ทฤษฎีของ Piaget
(Piagetian Theory : Conflict Resolution)
3.
ทฤษฎีของ Vygotsk (Vygotskian Theory : Community
Collaboration)
4. ทฤษฎีวิทยาการปัญญา
(Cognitive Science Theories : Tutoring)
ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
ราชบัณฑิตสถาน
(2551)
ได้ให้ความหมาย ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดหลักให้ผู้เรียนช่วยกัน
เรียนรู้โดยพึ่งพากัน มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดใช้ทักษะทางสังคมในการทำงานร่วมกัน
มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานกลุ่มและมีการตรวจสอบผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย
ๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน
มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน
ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
ซึ่งตรงข้ามกับการเรียนที่เน้นการแข่งขันและการเรียนตามลำพัง
Blackcom (1992) กล่าวว่า
การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จโดยผู้เรียนกลุ่ม
เล็ก ๆ ที่มีความสามารถต่างกัน
ใช้กิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย ในการปรับปรุงความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
สมาชิกแต่ละคนในทีมจะไม่เพียงจะต้องมีความรับผิดชอบแต่ต้องช่วยเหลือกันในกลุ่ม
ซึ่งสร้างบรรยากาศของสัมฤทธิ์ผลในการเรียนอีกด้วย
ไพฑูรย์
และคณะ (2550)
ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจาก
การร่วมมือร่วมใจในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงาน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกลุ่ม เน้นการทำงาน
คละความสามารถของสมาชิก ดังนั้นการกระทำใด ๆ ของสมาชิกย่อมมีผล
กระทบต่อกลุ่มและสมาชิกคนอื่น ๆ
ทิศนา
(2552)
กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือคือ
การเรียนที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุด
โดยอาศัยการร่วมมือกันช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน
ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษา
เนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัลเป็นประการสำคัญ
***สรุป การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง
ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย
โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน
เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียก Cooperative
Learning ว่า การเรียนแบบร่วมมือ
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative
Learning)
Johnson, Johnson
and Stann (2000) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ
ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งหมด 8 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบแอลที (LT) หรือ Learning
Together
2. รูปแบบเอ.ซี. (AC) หรือ Academic
Controversy
3. รูปแบบเอส.ที.เอ.ดี (STAD) หรือ Student-Team-Achievement- Divisions
4. รูปแบบที.จี.ที (TGT) หรือ
Team-Games-Tournaments
5. รูปแบบจี.ไอ (GI) หรือ Group
Investigation
6. รูปแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)
7. รูปแบบที.เอ.ไอ (TAI) หรือ
Teams-Assisted-Individualization
8. รูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี (CIRC) หรือ Cooperative Intergrated Reading and Composition
ทั้ง 8 รูปแบบ
ให้ผลกระทบในด้านบวกต่อสัมฤทธ์ผลทางการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ ทิศนา
(2548)
กล่าวว่าทุกรูปแบบของการเรียนแบบร่วมมือต่างมีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน
สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้
สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน
ในส่วนที่ต่างกันนั้นมักจะเป็นความแตกต่างในเรื่องของวิธีการจัดกลุ่ม
วิธีการในการพึ่งพากัน วิธีการทดสอบ
กระบวนการในการวิเคราะห์กลุ่ม บรรยากาศของกลุ่ม
โครงสร้างของกลุ่ม บทบาทของผู้เรียน ผู้นำกลุ่มและครู
อ้างอิง
https://sites.google.com/site/muttanatumoon/kar-cadkar-reiyn-kar-sxn-baeb-tgt
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
Game Online
![]() |
ที่มารูปภาพ: http://www.juropy.com/wp-content/uploads/2012/11/CS2.jpg |
Edutainment
![]() |
ที่มารูปภาพ: http://my.kapook.com/imagescontent/picture/655/b_17604_8246.jpg |
E-Learning / Learning Management System / M-Learning
E-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
M-Learning m-Learning (mobile learning) คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell Phones ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอน อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบ M-Learning การจัดการเรียนการสอนแบบ m-Learning นั้น ผู้เรียนต้องใช้อุปกรณ์แบบติดตามตัวหรือเคลื่อนไปได้โดยสะดวก (mobile devices) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความสามารถ มีขนาดและราคาที่แตกต่างกันไป อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนแบบ Notebook computers เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้
ที่มา: http://www.netthailand.com/home/articles.php?art_id=12&start=1
https://sites.google.com/site/thpthmchkhm8/hlak-kar-reiyn-ru-khxng-e-lernimg-u-learning-m-learning
***สรุป
E-Learning >>> เป็นการเรียนการสอนที่นำมาไว้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(เอกสารที่ถูกอัพไว้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
Learning Management System >>> เป็นซอฟต์เเวร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับการเรียนการสอน เเบบออนไลน์ โดยที่ทั้งผู้เรียนเเละผู้สอนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
M-Learning >>> เป็นการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายไร้สายเเละต้องมีอุปกรณ์ไร้สาย เคลื่อนที่ได้เเละสามารถที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
![]() |
ที่มารูปภาพ: http://3.bp.blogspot.com/--lrNF7s7hUs/UA1EmF_ Q7mI/AAAAAAAAAFE/wOQjoopd4-o/s1600/final_88_globe_e-learning.jpg |
![]() |
ที่มารูปภาพ: http://us.123rf.com/400wm/400/400/alexmillos/ alexmillos1205/alexmillos120500070/13785101-e-learning- concept-cursor-illustration-design-over-white.jpg |
![]() |
ที่มารูปภาพ: http://www.easyauthoring.com/blog/wp-content/ uploads/2011/07/Mobile-learning-platforms.jpg |
ที่มา: http://www.netthailand.com/home/articles.php?art_id=12&start=1
https://sites.google.com/site/thpthmchkhm8/hlak-kar-reiyn-ru-khxng-e-lernimg-u-learning-m-learning
***สรุป
E-Learning >>> เป็นการเรียนการสอนที่นำมาไว้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(เอกสารที่ถูกอัพไว้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
Learning Management System >>> เป็นซอฟต์เเวร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการกับการเรียนการสอน เเบบออนไลน์ โดยที่ทั้งผู้เรียนเเละผู้สอนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
M-Learning >>> เป็นการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายไร้สายเเละต้องมีอุปกรณ์ไร้สาย เคลื่อนที่ได้เเละสามารถที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
สารานุกรมออนไลน์
![]() |
ที่มารูปภาพ: http://www.judzeed.com/upload_jet/article/2012117_56584.jpg |
***โดยที่สารานุกรมออนไลน์ มีเเทบครบทุกภาษาเลย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)